ฉบับย่อ

  • ปี 2566  ครม. มี มติปรับลดค่าธรรมเนียมการโอนจาก 2% เป็น 1% และปรับลดค่าจดจำนองจาก 1% เหลือ 0.01%
  • ผู้ขายอสังหาฯ เป็นบุคคลธรรมดา ต้องเสียภาษีเงินได้ ไม่ว่าอสังหาฯ นั้นจะได้มาโดยการให้-รับมรดก หรือซื้อ-ขายก็ตาม

 

การซื้อขายที่ดินหรือที่พักอาศัย นอกจากมูลค่าที่อสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจ่ายแล้ว ก็ยังมีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ มาด้วย ก็คือ ค่าใช้จ่ายในการโอน ทั้งโอนบ้าน โอนที่ดิน วันนี้พี่ทุยเลยจะพาทุกคนไปดูกันหน่อยว่า เราต้องเสียค่าอะไรบ้าง ค่าโอนที่ดิน ค่าจดจำนอง ต้องเสียเท่าไหร่ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

ค่าใช้จ่ายในการโอนอสังหาริมทรัพย์

ในการซื้อขายบ้านและที่ดิน จะมีค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่เราต้องเสียให้กับสำนักงานที่ดิน ดังนี้

  • ค่าคำขอโอนที่ดิน 5 บาท
  • ค่าอากร 5 บาท
  • ค่าพยาน 20 บาท
  • ค่าธรรมเนียมในการโอน
  • ค่าจดจำนอง
  • ค่าอากรแสตมป์
  • ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ค่าธรรมเนียมในการโอน หรือ ค่าโอนที่ดิน

คิดเป็น 2% ของราคาประเมินหรือราคาขาย

แต่ในปี 2566 ครม. มี มติปรับลดค่าธรรมเนียมจาก 2% เป็น 1% เพื่อกระตุ้นให้มีการซื้อ-ขายอสังหาฯ มากขึ้น และสนับสนุนให้ประชาชน มีที่อยู่อำศัยเป็นของตนเอง โดยมีเงื่อนไขคือ

1. เฉพาะการซื้อ-ขายที่อยู่อาศัย ทั้งมือหนึ่งและมือสอง ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ ห้องชุด

2. ราคาซื้อ-ขาย ราคาประเมินทุนทรัพย์ และวงเงินจำนองต้องไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อสัญญา ไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน

3. ต้องโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน จึงจะได้ลดค่าธรรมเนียมการจำนองด้วย

4. ต้องโอนและจดจำนองภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2566

5. ผู้ซื้อต้องเป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย

ตัวอย่าง ซื้อบ้านราคา 1 ล้านบาท เดิมเสียค่าธรรมเนียมการโอน 20,000 บาท แต่ปี 2566 จะเสียค่าโอนที่ลดเหลือเพียง 10,000 บาท

แต่สำหรับการซื้อบ้านที่ดิน ที่มีมูลค่ามากกว่า 3 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมการโอนยังคงคิด 2% ตามเดิม

ค่าจดจำนอง

กรณีกรณีซื้อบ้านหรือที่ดินโดยใช้สินเชื่อธนาคารหรือกู้เงิน จะเสียค่าจดจำนองด้วย ซึ่งปกติคิด 1% ของมูลค่าจำนอง แต่ปี 2566 ได้ปรับลดลงเหลือ 0.01% ตามเงื่อนไข (หากใครซื้อบ้านด้วยเงินสดจะไม่เสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้)

1. เฉพาะการซื้อ-ขายที่อยู่อาศัย ทั้งมือหนึ่งและมือสอง ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ ห้องชุด

2. ราคาซื้อ-ขาย ราคาประเมินทุนทรัพย์ และวงเงินจำนองต้องไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อสัญญา ไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน

3. ต้องโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน จึงจะได้ลดค่าธรรมเนียมการจำนองด้วย

4. ต้องโอนและจดจำนองภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2566

5. ผู้ซื้อต้องเป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย

แต่ถ้ามูลค่าการซื้อ-ขายมากกว่า 3 ล้านบาท ค่าจดจำนองยังคงคิด 1% ตามเดิม

ตัวอย่าง ค่าธรรมเนียมการโอนและจำนอง ปี 2566

ซื้อบ้านราคา 1 ล้านบาท จะเสียค่าจะทะเบียนการโอนเหลือ 10,000 บาท และค่าจดจำนอง 0.01% คือ 100 บาท รวมเป็น 10,100 บาท

ค่าอากรแสตมป์

กรณีซื้อขายบ้านพร้อมที่ดิน ทั้งบ้านเดี่ยว คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ หากผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา แล้วมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี หรือถือครองมาครบ 5 ปี จะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ โดยมีอัตราคิดเป็น 0.5% ของราคาซื้อ-ขาย หรือราคาประเมินทุนทรัพย์ก็ได้ แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า

ตัวอย่าง บ้านมีราคาประเมิน 2 ล้านบาท แต่ราคาขายอยู่ที่ 3 ล้านบาท ให้ยึดราคาขายเป็นเกณฑ์ เท่ากับว่า 3,000,000 x 0.5% = เสียค่าอากรแสตมป์ 15,000 บาท

โดยหากเสียค่าอากรแสตมป์แล้ว ไม่ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะอีก

สำหรับกรณีซื้อ-ขายที่ดินอย่างเดียว ไม่ว่าผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล ต้องถือครองครบ 5 ปี เท่านั้น ถึงจะเสียแต่ค่าอากรแสตมป์ ไม่ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ

ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ

เมื่อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยการซื้อ-ขาย ได้รับเป็นมรดก หรือถูกเวนคืนตามกฎหมาย จะต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยคิดเป็น 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมินทุนทรัพย์ ตามแต่ราคาไหนที่สูงกว่า

ตัวอย่าง บ้านมีราคาประเมิน 2 ล้านบาท แต่ราคาขายอยู่ที่ 3 ล้านบาท ให้ยึดราคาขายเป็นเกณฑ์ เท่ากับว่า

3,000,000 x 3.3% = เสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 99,000 บาท

ยกเว้น ถือครองอสังหาฯ เกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี จะไม่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แต่จะต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์แทน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย

เมื่อขายอสังหาริมทรัพย์ได้ ผู้ขายที่เป็นนิติบุคคลจะต้องเสียภาษีเงินได้ฯ 1% ของราคาประเมิน หรือราคาซื้อ-ขาย ขึ้นอยู่กับราคาใดสูงกว่า

แต่ถ้าผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีเงินได้ โดยใช้ราคาประเมินรวมที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นตัวตั้ง แล้วนำมาคำนวณอัตราภาษีเงินได้ และหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามจำนวนปีที่ถือครอง ไม่ว่าอสังหาฯ นั้นจะได้มาโดยการให้-รับมรดก หรือซื้อ-ขายก็ตาม

แต่สำหรับการคำนวณภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ จะไม่ได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้สุทธิ 0-150,000 บาทแรก เหมือนกับการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปกติ และถ้าอสังหาริมทรัพย์นั้นได้มาโดยการรับมรดก หรือให้โดยเสน่หา ให้หักค่าใช้จ่ายได้เพียง 50% ไม่ว่าจะถือครองจริงกี่ปีก็ตาม

ตัวอย่าง

ขายบ้านที่ซื้อมา ได้ราคา 2 ล้านบาท แต่บ้านมีราคาประเมิน 1 ล้าน ถือครองมาแล้ว 2 ปี

ราคาประเมิน 1,000,000 บาท

หักค่าใช้จ่าย ตามจำนวนปีที่ถือครอง 2 ปี = 84%

1,000,000 × 84% = 840,000 เหลือ มูลค่าคิดภาษี 160,000

คำนวณอัตราภาษีเงินได้ ไม่เกิน 300,000 บาท คิด 5%

160,000 × 5% = 8,000 บาท

รวมจำนวนปีที่ถือครอง 8,000 × 2 = 16,000 บาท

ต้องเสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาฯ 16,000 บาท

เอกสารการโอนที่ดินใช้ อะไรบ้าง สำหรับบุคคลธรรมดา

1. โฉนดที่ดินฉบับจริง

2. บัตรประชาชน พร้อมสำเนาที่ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ชุด

3. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาที่ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ชุด

4. หากเคยเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ให้มีหนังสือเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล พร้อมสำเนาที่ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง

5. กรณีที่ต้องการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน

  • หนังสือมอบอำนาจ (ทด.21)
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

6. กรณีสมรส

  • หนังสือให้ความยินยอมให้ขายที่ดินหรือที่ดินพร้อมบ้าน
  • สำเนาบัตรประชาชนคู่สมรส
  • สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส
  • สำเนาทะเบียนสมรส

7. กรณีหย่า ให้มีสำเนาทะเบียนหย่า

ARE YOU INTERESTED

IT'S TIME TO DISCOVER

THE BUILDING

BUILDING LOCATION

Motivation can take you far, but it can take you even further if you first find your vision. Your vision will motivate and guide you on

ADDRESS:

Logan Barker, 865 Oak Boulevard, Elk Grove, Vermont 95184
Phone:

012-345-6789

E-mail:

email.support@maisonco.com

CONTACT AGENT

William Jacobs

CERTIFIED AGENT

ENQUIRE

    ©Rattanasup 2023. All rights reserved.